วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน


   

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน

“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่ง

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558



ASEAN Community คืออะไรอาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา


ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์



2.กัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ


3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร


4.ลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)


5.มาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา


6.พม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ


7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร


8.สิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร


9.เวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว


10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ที่มา:http://www.thai-aec.com







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น