โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นลำดับที่ 39 ของจังหวัดเชียงรายของกรมสามัญศึกษา ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1121 กิโลเมตรที่ 4 – 5 เส้นทางสายเชียงราย – ดงมะดะ มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 393 หมู่ที่ 1 ถนนเชียงราย – ดงมะดะ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000
ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นฌาปนสถานประจำหมู่บ้านหัวฝาย พ่อหลวงจวน ไชยชมภู ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหมู่บ้าน เนื่องด้วยในขณะนั้นหมู่บ้านยังไม่มีความเจริญ เส้นทางคมนาคมยากลำบาก จึงมีความเห็นที่อยากจะให้หน่วยงานทางราชการเข้าไปตั้งสถานที่ราชการในหมู่บ้านเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านเจริญขึ้น จึงขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในสมัยที่ท่านผู้อำนวยการ บรรจง พงศ์ศาสตร์(อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา)เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมอบหมายให้ อาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ หัวหน้าหมวดเกษตรกรรมศิลป์ ได้ดำเนินการประสานงานกับพ่อหลวงจวน ไชยชมภู และจัดหางบประมาณ โดยคณะครู – อาจารย์และนักเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆ หาเงินซื้อที่ดิน จนครบ 40,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อซื้อที่ดินและมีโครงการใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นไร่ฝึกเกษตรของโรงเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 อาจารย์บรรจง พงศ์ศาสตร์ ได้ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่และในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นอาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ ได้โอนย้ายไปรับราชการในสำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารโรงเรียนในยุคต่อมาเห็นว่าการเดินทางไป–กลับของนักเรียนเพื่อปฏิบัติงานที่ไร่ฝึกเกษตรยากลำบาก ดังนั้นจึงได้ระงับโครงการไร่ฝึกเกษตรดังกล่าว ที่ดินแปลงนี้จึงถูกทิ้งรกร้างอีกระยะหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการประสิทธิ์ แสนไชย ได้พัฒนาไร่ฝึกเกษตรอีกครั้ง โดยปลี่ยนแปลงเป็นสวนป่าโรงเรียนจึงได้รับมอบหมายให้หมวดวิชาเกษตรกรรมประสานงานตามโครงการ และให้ครู – อาจารย์และนักเรียนร่วมกันปลูกไม้ยืนต้น ต่อมาในสมัยที่ผู้อำนวยการบุญส่ง ไชยลาม (2532 – 2536) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนโยบายที่จะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นสถานที่ฝึกอบรมของโรงเรียนแต่โครงการดังกล่าวไม่บรรลุผล อาจารย์เฉลิมชัย รัตนประยูร ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้ตระหนักถึงการขยายตัวทางการศึกษาของจังหวัดเชียงรายในอนาคต ตลอดจนความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมในขณะนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่ทางโรงเรียนจะรับได้ ประกอบกับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินจัดซื้อจากวิสัยทัศน์ของท่านอธิบดีบรรจง พงศ์ศาสตร์ และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ดังที่คาดหวัง จึงได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ในกรมสามัญศึกษาจึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนโดยให้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 103 คน โดยมีนายสงัด มิตกิตติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนแรก ดำเนินการรับสมัครนักเรียน
วันที่ 13 พฤษภาคม 2537 – 30 กันยายน 2544 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นางพาณี จินดา-วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 – 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 นายทวีศักดิ์ พิพัฒน์ขจรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายอุทิศ สิทธิยศสมบัติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2549 – พ.ศ. 2552 นายพานทอง วังเค็ม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2552 – 10 พ.ย. 2554 นางสาวศุภวัลย์ คำวัง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2.
วันที่ 11 พ.ย. พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน นายส่งศักดิ์ เทพดวงแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2.
เอกลักษณ์สถานศึกษา
“ โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม”
อัตลักษณ์ของผู้เรียน
“ นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตอาสา”
คติธรรมประจำโรงเรียน
พลํ สํง ฆฺส ส สามฺค คี “สามัคคี คือ พลัง”
ปรัชญาของโรงเรียน
“เน้นคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม”
วิสัยทัศน์
โรงเรียนแห่งคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม สู่มาตรฐานสากลและประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
1. พัฒนาผู้เรียนในมีคุณธรรมโดยน้อมนำตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
2. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สู่มาตรฐานสากล
3. ประสานสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรภายนอกเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาสังคม
4. พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
5. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
6. ส่งเสริม ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้เรียนให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมล้านนา
เป้าประสงค์
นักเรียนโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม2 มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีจิตสำนึกตระหนักในคุณค่าศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างมีความสุขโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
1. กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้
2. กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน
3. กลยุทธ์พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. กลยุทธ์ปรับปรุงระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
5. กลยุทธ์พัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
6. กลยุทธ์พัฒนาบุคลากรมืออาชีพ
เครื่องหมายประจำโรงเรียน
- ห่วงกลม 6 ห่วง ประกอบด้วยสี 3 สี หมายถึง
- สีประจำโรงเรียน คือ น้ำเงิน ขาว แสด เกาะเกลียวกันเป็นลูกโซ่อย่างเหนียวแน่น มั่นคง เปรียบเสมือนความสามัคคีกลมเกลียวแน่นแฟ้น
- รอบ ๆ ห่วง 6 ห่วง จะเปล่งประกายออกเป็นรัศมีทองแสด รวมทั้งหมด 39 แฉกหมายถึง เป็นโรงเรียนมัธยมโรงที่ 39 ของจังหวัดเชียงราย
- ตัวอักษรภาษาบาลี หมายถึง คติธรรมประจำโรงเรียน
- ใต้ตัวอักษรบาลี คือ ปีพุทธศักราชที่ก่อตั้งโรงเรียน
สีประจำโรงเรียน
น้ำเงิน : ขาว : แสด
ต้นไม้ประจำโรงเรียน
ต้นอินทนิล
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น