วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดอกไม้ประจำวันเกิด


ดอกไม้ประจำวันเกิด




เกิดวันอาทิตย์  

          ต้นไม้ประจำวันเกิด เป็นต้นพวงแสด ต้นพุทธรักษา ต้นธรรมรักษา และต้นเยอร์บีร่าที่มีดอกสีส้ม  

          ส่วนดอกไม้ประจำวันเกิด เป็นดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์ 

          คนเกิดวันนี้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือล้น เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย  



เกิดวันจันทร์

 ต้นไม้ประจำวันเกิด ของเธอคือ ต้นมะลิ ต้นแก้ว ต้นพุด ต้นจำปี 

 ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน        เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชนิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึงความรักที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่ง   ใดตอบแทนเพราะคนวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย 




เกิดวันอังคาร

          ต้นไม้ที่แสนดีของเธอคือ ต้นชัยพฤกษ์ ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ต้นยี่โถ ออกดอกสีชมพู ต้นเข็มออกดอกสีชมพู ถ้าต้นไม้ของเธอออกดอกมากๆ บอกได้ว่าเธอกำลังมีความสุข 

          ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมายถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้  



เกิดวันพุธ 
          ต้นไม้ประจำตัวคนที่เกิดวันพุธนั้นพิเศษกว่าคนอื่นตรงที่เป็นต้นไม้ใบเขียว โดยเฉพาะต้นกระดังงา ต้นสนฉัตร ดังนั้นเธอควรปลูกต้นไม้เยอะๆ ถึงจะโชคดี ต้นไม้เหล่านั้นจะช่วยปกป้องคุ้มครองเธอได้ คือ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบ เพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบเป็นนักการทูตและรักสันติภาพ 

          ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ (เงิน) สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชนิดนี้ หมายถึงรักของเธอต้องมาพร้อมเงิน 




เกิดวันพฤหัสบดี  

          ต้นไม้ประจำตัวคือ ต้นโสน ต้นราชพฤกษ์ และต้นบานบุรี หากมีต้นไม้เหล่านี้อยู่ในบ้านจะช่วยคุ้มครองดูแลเธอ

          ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็กๆ ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งคือดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึงรักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวาน เธอที่เกิดวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารักเหมือนดอกไม้ของเธอนั่นแหละ 



เกิดวันศุกร์  
          ต้นไม้ที่แสนดีของคนที่วันศุกร์คือ ต้นพยับหมอก ต้นแส ต้นอัญชัน

          ส่วนดอกไม้ของเธอคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิดวันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่มีเสน่ห์ล้นเหลือ หรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบดอกไวโอเลตว่า "ฉันรักเธอแล้ว หากรักฉันก็บอกกันบ้างนะ" คนเกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอน ไปครองอีกดอกหนึ่ง 


  เกิดวันเสาร์  
          จะมีต้นไม้พวกต้นกัลปังหา ต้นพวงคราม ต้นอินทนิล เป็นต้นไม้ประจำวันเกิด

          ดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึงรักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว

ที่มา:http://hilight.kapook.com




ต้นดอกรัก

ดอกรัก
รัก (ชื่อวิทยาศาสตร์Calotropis gigantea (Linn.) R.Br.ex Ait.) เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กในวงศ์ Apocynaceae วงศ์ย่อย Asclepiadoideae ลำต้นสูง 1.5–3 เมตร ดอกมีสีขาวหรือม่วง มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ
รักเป็นพืชพื้นเมืองของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา อินเดีย และจีน ดอกของพืชชนิดนี้เรียกว่าดอกรัก


ลักษณะทางพฤษศาสตร์
สูง 1.5–3 เมตร ทุกส่วนมียางขาวเหมือนน้ำนม ตามกิ่งมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม รูปรีแกมขอบขนาน ปลายแหลมโคนเว้า กว้าง 6–8 เซนติเมตร ยาว 10–14 เซนติเมตร เนื้อใบหนา ใต้ใบมีขนนุ่ม ก้านสั้น ดอกสีขาวหรือสีม่วง ออกเป็นช่อตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร มีรยางค์เป็นคล้ายมงกุฎ 5 สัน มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นฝักคู่ กว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 6–8 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกได้เมล็ดแบนสีน้ำตาลจำนวนมาก มีขนสีขาวเป็นกระจุกอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงกลาง ส่วนนี้เองที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรักเป็นฝักรูปรีปลายแหลมยาว 5-7 ซม. เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามลม
การขยายพันธุ์
ปกติแล้วต้นรักมักขึ้นอยู่ตามที่รกร้าง ไม่ค่อยมีการเพาะปลูกกัน แต่สำหรับอุตสาหกรรมในครัวเรือนอาจจะต้องปลูกไว้ใช้ รักขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือการปักชำ ระยะเวลาเติบโตจนออกดอกประมาณ 8 เดือน ใส่ปุ๋ย 16-16-16 เดือนละ 1 ครั้ง
สรรพคุณ
ดอก รักษาอาการไอ หอบหืด และหวัด ช่วยให้เจริญอาหาร
เปลือกและราก ใช้รักษาโรคบิด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลืองเสีย และทำให้อาเจียน
ยาง ถ้าถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แต่ก็มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย สามารถอาการปวดฟัน ปวดหู ขับพยาธิ รักษากลากเกลื้อน และใช้เป็นยาขับเลือด
ประเพณีและความเชื่อ
ในประเทศไทยนิยมนำดอกรักมาร้อยเป็นมาลัยร่วมกับดอกมะลิ ดาวเรือง จำปา หรือกุหลาบ ใช้ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก เพราะดอกรักสื่อความหมายถึงความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน ส่วนชาวฮาวายถือว่ามาลัยดอกรักที่ทำเป็นสร้อยคอ (lei) คือสัญลักษณ์ของความเป็นกษัตริย์ตามประเพณีไทย มักจะใช้ดอกรักร่วมกับดอกไม้อื่นที่มีความหมายเป็นมงคลในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่อง กับความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้น
ประโยชน์
เปลือกราก รักษาบิด ทำให้อาเจียน ขับเหงื่อ
ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง ถ้าถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง
ดอกทำดอกไม้ประดิษฐ์

ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki



วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดอกกล้วยไม้

        
ลักษณะดอกกล้วยไม้


      ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอก เดียวกัน ดอกกล้วยไม้ประกอบด้วยกลีบดอกวงนอก 3 กลีบ และกลีบดอกวงใน 3 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกกล้วยไม้จะแตกต่างกันไปตามชนิดของกล้วยไม้ กล้วยไม้บางชนิดอาจมีกลีบดอกขนาดใหญ่ สีสวย แต่บางชนิดมีกลีบแคบ สีไม่สวยส่วนของกลีบวงนอกหรือกลีบนอกนั้นจะเป็นส่วน ที่หุ้มดอกในระยะดอกตูม กลีบนอกมักจะมีลักษณะคล้ายกันทั้ง 3 กลีบ ยกเว้นพวกรองเท้านารี ที่กลีบนอกกลีบล่างจะมีลักษณะต่างจากกลีบบน สำหรับกลีบในนั้นจะมีลักษณะต่างกันโดยกลีบ ในคู่หนึ่งจะมีลักษณะเหมือนกัน ส่วนกลีบในกลีบที่สามจะมีลักษณะแตกต่างไปเรียกว่าปาก หรือกระเป๋า(Lip)ซึ่งมีประโยชน์สำหรับล่อแมลงเพื่อช่วยผสมพันธุ์ส่วนประกอบของดอกมีส่วนของก้านเกสรตัวผู้ ก้านเกสรตัวเมียและยอดเกสรตัวเมียรวมกันเป็นอวัยวะเดียวกันยื่นออกมาตรงใจกลางของดอก มีอับเกสรตัวผู้อยู่ที่ส่วนปลายเรียกว่า เส้าเกสร (Staminal column) ยกเว้นพวกรองเท้านารี และกล้วยไม้บางสกุลที่อับเกสรตัวผู้ อยู่ ด้านข้างของเส้าเกสร 2 ข้าง เกสรตัวผู้ไม่มีลักษณะ เป็นละอองเรณูแบบพืชอื่นๆ เกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับเรณูและละอองเกสรตัวผู้หรือเรณู เรณูของดอกกล้วยไม้มีลักษณะแตกต่างกันคือละอองเรณูอาจจะรวมกลุ่มติดกันคล้ายขี้ผึ้งอ่อน ๆ หรือละอองเรณูเกาะตัวกันเป็นก้อนแข็งเป็นกลุ่มเรณูเรียกว่าพอลลิเนีย (pollinia) ในแต่ละอับ เรณูมีฝาปิดสนิท อาจมี 2,4 หรือ 8 อันแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้ยอดเกสรตัวเมียจะอยู่ใต้อับเรณู มีลักษณะเป็นแอ่งตื้น ๆภายในมีน้ำเมือกเหนียว (ยกเว้นรองเท้านารีที่มีลักษณะต่างออกไป) น้ำเมือกนี้จะมีไว้เพื่อช่วยในการผสมพันธุ์ สำหรับยึดเกสรตัวผู้ที่ตกลงไปในแอ่ง การผสมเกสรส่วนใหญ่ต้องอาศัยแมลงเข้าช่วสำหรับรังไข่อยู่ตรงส่วนของก้านดอก ภายในรังไข่จะยังไม่มีการพัฒนาเป็นไข่อ่อนเมื่อมีการผสมเกสรเกิดขึ้นแล้วจึงจะเกิดไข่อ่อน ขึ้นมาภายในรังไข่รังไข่เพียงช่อเดียวแต่มีเมล็ดเกาะที่ผนัง 3 แห่ง เมื่อไข่ได้รับการผสมจาก เกสรตัวผู้จะเจริญไปเป็นเมล็ด 


ประวัติกล้วยไม้

กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.

ที่มา:http://www.plc.rmutl.ac.th

ตำนานดอกกุหลาบ


ดอกกุหลาบ

ดอกกุหลาบ


กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย

               ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย

    กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม

 บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง

               กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ


ที่มา:http://www.panmai.com/Valentine/rose_legend.shtml 



ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน


   

ความหมายและความสำคัญของประชาคมอาเซียน

“ประชาคมอาเซียน” เป็นเป้าหมายของการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศในทุกด้าน รวมถึงความสามารถในการรับมือกับปัญหาใหม่ๆ ในระดับโลกที่ส่งผลกระทบมาถึงภูมิภาคอาเซียน เช่น ภาวะโลกร้อน การก่อการร้าย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การเป็นประชาคมอาเซียน คือการทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเป็น “ครอบครัวเดียวกัน” ที่มีความแข็งแกร่งและมีภูมิต้านทานที่ดี โดยสมาชิกในครอบครัวมีสภาพความอยู่ที่ดี ปลอดภัย และสามารถทำมาค้าขายได้อย่างสะดวกมากยิ่ง

แรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงกันที่จัดตั้งประชาคมอาเซียน อันถือเป็นการปรับปรุงตัวครั้งใหญ่และวางรากฐานของการพัฒนาของอาเซียน คือ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ เช่นโรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติภัยพิบัติธรรมชาติ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน และความเสี่ยงที่อาเซียนอาจจะไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจได้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด

ประชาคมอาเซียนถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม 2546 จากการที่ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า “ข้อตกลงบาหลี 2” เพื่อเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน ภายในปี2563 แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี 2558



ASEAN Community คืออะไรอาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา


ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ

Asean-AEC-flag
ปัจจุบันประเทศในอาเซียน มีอยู่ 10 ประเทศ โดยมีข้อมูลของแต่ละประเทศดังนี้


1.บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์



2.กัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ


3.อินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร


4.ลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)


5.มาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา


6.พม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ


7.ฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร


8.สิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร


9.เวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว


10.ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ที่มา:http://www.thai-aec.com







วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ประวัติโรงเรียน

               โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นโรงเรียนที่ก่อตั้งขึ้นลำดับที่ 39 ของจังหวัดเชียงรายของกรมสามัญศึกษา ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1121 กิโลเมตรที่ 4 – 5 เส้นทางสายเชียงราย – ดงมะดะ มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 393 หมู่ที่ 1 ถนนเชียงราย – ดงมะดะ ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 57000 

                      



                ที่ดินแปลงนี้เดิมเป็นฌาปนสถานประจำหมู่บ้านหัวฝาย พ่อหลวงจวน ไชยชมภู ผู้ใหญ่บ้านในขณะนั้นมีแนวความคิดที่จะพัฒนาหมู่บ้าน เนื่องด้วยในขณะนั้นหมู่บ้านยังไม่มีความเจริญ เส้นทางคมนาคมยากลำบาก จึงมีความเห็นที่อยากจะให้หน่วยงานทางราชการเข้าไปตั้งสถานที่ราชการในหมู่บ้านเพื่อที่จะทำให้หมู่บ้านเจริญขึ้น จึงขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม ในสมัยที่ท่านผู้อำนวยการ บรรจง พงศ์ศาสตร์(อดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา)เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดยมอบหมายให้ อาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ หัวหน้าหมวดเกษตรกรรมศิลป์ ได้ดำเนินการประสานงานกับพ่อหลวงจวน ไชยชมภู และจัดหางบประมาณ โดยคณะครู – อาจารย์และนักเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆ หาเงินซื้อที่ดิน จนครบ 40,000 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2519 เพื่อซื้อที่ดินและมีโครงการใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นไร่ฝึกเกษตรของโรงเรียน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 อาจารย์บรรจง พงศ์ศาสตร์ ได้ย้ายไปรับตำแหน่งใหม่เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยจังหวัดเชียงใหม่และในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นอาจารย์ณรงค์ จินดาวงศ์ ได้โอนย้ายไปรับราชการในสำนักงานปฏิรูปที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารโรงเรียนในยุคต่อมาเห็นว่าการเดินทางไป–กลับของนักเรียนเพื่อปฏิบัติงานที่ไร่ฝึกเกษตรยากลำบาก ดังนั้นจึงได้ระงับโครงการไร่ฝึกเกษตรดังกล่าว ที่ดินแปลงนี้จึงถูกทิ้งรกร้างอีกระยะหนึ่ง
                   ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ผู้อำนวยการประสิทธิ์ แสนไชย ได้พัฒนาไร่ฝึกเกษตรอีกครั้ง โดยปลี่ยนแปลงเป็นสวนป่าโรงเรียนจึงได้รับมอบหมายให้หมวดวิชาเกษตรกรรมประสานงานตามโครงการ และให้ครู – อาจารย์และนักเรียนร่วมกันปลูกไม้ยืนต้น ต่อมาในสมัยที่ผู้อำนวยการบุญส่ง ไชยลาม (2532 – 2536) เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนโยบายที่จะใช้ที่ดินแปลงนี้เป็นสถานที่ฝึกอบรมของโรงเรียนแต่โครงการดังกล่าวไม่บรรลุผล อาจารย์เฉลิมชัย รัตนประยูร ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ได้ตระหนักถึงการขยายตัวทางการศึกษาของจังหวัดเชียงรายในอนาคต ตลอดจนความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อโรงเรียนสามัคคีวิทยาคมในขณะนั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่ทางโรงเรียนจะรับได้ ประกอบกับที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นที่ดินจัดซื้อจากวิสัยทัศน์ของท่านอธิบดีบรรจง พงศ์ศาสตร์ และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ดังที่คาดหวัง จึงได้ปรึกษากับผู้ใหญ่ในกรมสามัญศึกษาจึงได้รับอนุมัติให้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนโดยให้ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2” เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536
               ในปีการศึกษา 2537 โรงเรียนเริ่มเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีนักเรียนจำนวน 103 คน โดยมีนายสงัด มิตกิตติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดเชียงราย ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เป็นคนแรก ดำเนินการรับสมัครนักเรียน

                วันที่ 13 พฤษภาคม 2537 – 30 กันยายน 2544 กรมสามัญศึกษา ได้แต่งตั้ง นางพาณี จินดา-วงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

                 วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 – 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 นายทวีศักดิ์ พิพัฒน์ขจรศักดิ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

                 วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2546 – 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายอุทิศ สิทธิยศสมบัติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2

                 วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2549 – พ.ศ. 2552 นายพานทอง วังเค็ม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2
                 วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2552 – 10 พ.ย. 2554 นางสาวศุภวัลย์ คำวัง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2. 

                 วันที่  11 พ.ย. พ.ศ. 2554   - ปัจจุบัน  นายส่งศักดิ์  เทพดวงแก้ว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม 2.



เอกลักษณ์สถานศึกษา 
“ โรงเรียนส่งเสริมคุณธรรม” 
อัตลักษณ์ของผู้เรียน
“ นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตอาสา”

คติธรรมประจำโรงเรียน
                                     พลํ สํง ฆฺส ส สามฺค คี     สามัคคี คือ พลัง


ปรัชญาของโรงเรียน
“เน้นคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม” 



วิสัยทัศน์
         โรงเรียนแห่งคุณธรรม นำปัญญา พัฒนาสังคม สู่มาตรฐานสากลและประชาคมอาเซียน
พันธกิจ
          1.      พัฒนาผู้เรียนในมีคุณธรรมโดยน้อมนำตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
2.     ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา สู่มาตรฐานสากล
3.      ประสานสัมพันธ์กับชุมชนและองค์กรภายนอกเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและพัฒนาสังคม
4.      พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
5.      พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
6.      ส่งเสริม ปลูกฝังจิตสำนึกของผู้เรียนให้ตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมล้านนา
เป้าประสงค์
           นักเรียนโรงเรียนสามัคคีวิทยาคม2 มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา มีจิตสำนึกตระหนักในคุณค่าศิลปวัฒนธรรมล้านนา เป็นผู้มีคุณธรรมนำความรู้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อย่างมีความสุขโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
1.      กลยุทธ์การพัฒนาและส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้
2.       กลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐาน
3.       กลยุทธ์พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4.       กลยุทธ์ปรับปรุงระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
5.       กลยุทธ์พัฒนาการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี
6.       กลยุทธ์พัฒนาบุคลากรมืออาชีพ


เครื่องหมายประจำโรงเรียน



      

               -  ห่วงกลม 6 ห่วง ประกอบด้วยสี 3 สี หมายถึง

               - สีประจำโรงเรียน คือ น้ำเงิน ขาว แสด เกาะเกลียวกันเป็นลูกโซ่อย่างเหนียวแน่น มั่นคง  เปรียบเสมือนความสามัคคีกลมเกลียวแน่นแฟ้น

               - รอบ ๆ ห่วง 6 ห่วง จะเปล่งประกายออกเป็นรัศมีทองแสด รวมทั้งหมด 39 แฉกหมายถึง   เป็นโรงเรียนมัธยมโรงที่ 39 ของจังหวัดเชียงราย

               - ตัวอักษรภาษาบาลี หมายถึง คติธรรมประจำโรงเรียน

             - ใต้ตัวอักษรบาลี  คือ  ปีพุทธศักราชที่ก่อตั้งโรงเรียน

 สีประจำโรงเรียน
 น้ำเงิน : ขาว : แสด 

ต้นไม้ประจำโรงเรียน
  ต้นอินทนิล